ดูแลระบบร่างกายสู่สุขภาพดีเยี่ยม

ร่างกายของเรานั้นทำงานเชื่อมโยงและพูดคุยกันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การนอน อาหารที่เราเลือกทาน สมาธิในการจดจ่อทำสิ่งต่างๆ ประสิทธิภาพการทำงาน ความรู้สึกที่มีต่อตัวเราเอง และการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

บางครั้งที่เราสังเกตตัวเอง จะพบว่าเวลาที่เราทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงกว่าปกติ สักพักเราจะเริ่มมีอาการอ่อนเพลียและโหยอยากทานมากขึ้น

หรือวันที่เรานอนพักผ่อนไม่เพียงพอ แล้วส่งผลทำให้ทุกอย่างที่ทำในวันนั้นมีประสิทธิภาพแย่ลง

ในบทนี้เราจะไปทำความเข้าใจระบบการทำงานแบบองค์รวมกัน ด้วยคำถามที่ว่า

ทำยังไงเราถึงจะดูแลให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้มีประสิทธิภาพ และสร้างสุขภาพที่ดีเยี่ยมในทุกๆ วัน
Empty space, drag to resize

การมีสุขภาพที่ดีได้ในทุกๆ วัน คือ "ทางเลือก"

ทางเลือกที่เราทุกคนต่างมี คือ การเลือกใช้ชีวิตในแบบของเราเอง
Empty space, drag to resize
  • หากเราต้องการเป็นคนที่เก่ง ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เราก็ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และฝึกฝน

  • หากเราต้องการเป็นคนที่มีรูปร่างดี แข็งแรง ผิวพรรณที่ดี เราก็ต้องดูแลรักษาและออกกำลังกาย

  • หากเราต้องการเป็นคนที่มีเพื่อนที่ดีรอบข้าง เราก็ต้องใช้เวลาในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ดูแลเอาใจใส่กัน


Empty space, drag to resize
มีหลายอย่างในชีวิตที่เราต่างอยากทำ หากเราไม่ดูแลสุขภาพให้ดี เวลาก็จะน้อยลงๆ จนอาจเหลือเพียงไม่กี่อย่างที่เราจะได้ทำ
Empty space, drag to resize
"ความรู้สึกเหนื่อยล้าระหว่างวันอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้สำคัญ ของสุขภาพที่เริ่มเสื่อมถอย"
Empty space, drag to resize
บางทีเพียงเลือกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถเปลี่ยนเราเป็นคนใหม่ได้เลยทีเดียว

ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถเลือกได้อย่างถูกจุด เราจะมาทำความรู้จักและเข้าใจระบบการทำงานของร่างกายที่จะสร้างสุขภาพดีในระยะยาวกัน
Empty space, drag to resize

การสร้างสุขภาพที่ดี ต้องดูแลอย่างเป็นระบบ

ชีวภาพร่างกายของมนุษย์ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ที่สื่อสารกันผ่านฮอร์โมนและสารสื่อประสาทหลายชนิดตลอดเวลา

หากลองสังเกตตัวเองเวลาที่เราปรับเวลานอน, อดนอน, เปลี่ยนอาหารการกิน หรือมีความเครียด จะรู้สึกว่าระบบในร่างกายเราทำงานไม่ปกติ เช่น อาหารไม่ย่อย, รู้สึกอ่อนเพลีย, เกิดอาการภูมิแพ้

นั่นเพราะ ร่างกายมีนาฬิกาที่วนรอบทำงานในการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เมื่อเราปรับเวลานอน กิน หรือ ทำงานโต้รุ่ง จะส่งผลให้ร่างกายเราสับสนและมีการหลั่งฮอร์โมนที่ไม่เป็นปกติ 

การเข้าใจและสังเกตระบบการทำงานภายในร่างกายของเราจะช่วยให้เรารู้ว่าควรปรับพฤติกรรมอย่างไรได้อย่างถูกจุด ดีกว่าการแก้ตามอาการที่มักจะทำให้อาการนั้นวนกลับมาเป็นซ้ำๆ
Empty space, drag to resize

4 ระบบหลักในร่างกายร่วมสร้างสมดุลย์สุขภาพที่ดี

ในทุกๆ วันที่เราใช้ชีวิต มีระบบการทำงานหลักภายใน 4 ระบบที่สื่อสารกันเพื่อให้เราทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่เราตื่นนอนจนถึงตอนเราหลับ ประกอบด้วย

1. ระบบประสาท-ต่อมไร้ท่อ
2. ระบบย่อยและเผาผลาญอาหาร
3. ระบบหัวใจ หลอดเลือด และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ
4. ระบบภูมิคุ้มกันและฟื้นฟู

การเข้าใจการทำงานร่วมกันของระบบเหล่านี้ จะช่วยให้เราเข้าใจวิธีสร้าง Extended Healthspan ได้ถูกจุด ทีนี้เรามาดูแต่ละระบบกัน
Empty space, drag to resize

1) Neuroendocrine System (ระบบประสาท-ต่อมไร้ท่อ)

เป็นศูนย์กลางควบคุมความรู้สึก, การนอน, พลังงานและฮอร์โมนต่างๆ

ระบบส่วนนี้เชื่อมต่อระหว่างสมอง ระบบประสาท และระบบฮอร์โมน เป็นศูนย์กลางควบคุมความรู้สึก, ความคิด, การเคลื่อนไหว, การนอน, การย่อยอาหาร และสนับสนุนการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา

หน้าที่และบทบาท

ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนตามนาฬิการ่างกายและสนองตอบสัญญาณชีวภาพที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • เมื่อเรารู้สึกกังวลหรือเกิดความเครียด ฮอร์โมน Cortisol จะหลั่ง

  • เมื่อดวงตาเราเห็นแสงสีฟ้า ฮอร์โมน Melatonin จะลดลง เพื่อให้ร่างกายตื่นตัวขึ้น

  • เมื่อเราทานอาหารที่มีน้ำตาล ฮอร์โมน Insulin จะหลั่ง

  • เมื่อเรามีความรู้สึกรักใครสักคน ฮอร์โมน Oxytocin จะหลั่งมากขึ้น

  • เมื่อเรารู้สึกเหนื่อยเพลีย เป็นสัญญาณให้รู้ว่ามีโมเลกุล Adenosine สะสมในสมองใกล้เวลาต้องนอน

ศัตรูตัวฉกาจ ของระบบประสาทและฮอร์โมน

"ความเครียด, กินและนอนไม่เป็นเวลา"

เวลาที่เรามีความวิตกกังวล ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Cortisol ในระดับสูงกว่าปกติ เพื่อช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัว พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

แต่ในขณะเดียวกันฮอร์โมน Cortisol ก็เป็นตัวการสำคัญ ที่ไปกดทับการทำงานของระบบอื่นๆ เช่น

  • ร่างกายย่อยอาหารได้ช้าลง

  • ภูมิคุ้มกันลดลง

  • สมองตื่นตัวแต่คิดวิเคราะห์ได้แย่ลง

  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น

  • Melatonin หลั่งน้อยลง ทำให้นอนหลับไม่ได้คุณภาพ ไม่ได้รับการฟื้นฟูร่างกายอย่างเพียงพอ


ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของเรานั้น ส่วนใหญ่เป็นตัวกำหนดหรือตอบสนองต่อฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในสมองของเรา ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบร่างกายแทบทุกส่วน

2) Digestive & Metabolic System (ระบบย่อยและเผาผลาญอาหาร)

กิจกรรมทุกอย่างที่เราทำในชีวิตล้วนต้องใช้พลังงาน ตั้งแต่ การเคลื่อนไหวร่างกาย นั่งทำงาน การคิดวิเคราะห์ หรือแม้แต่นอนอยู่เฉยๆ

ร่างกายเราสร้างพลังงานจากอาหารที่เราทาน ผ่านกระบวนการย่อยและลำเลียงสารอาหารไปอวัยวะต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ การทานอาหารอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้ร่างกายทำงานได้มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเทรนการบริโภคใหม่ที่หลายคนกำลังให้ความใส่ใจมากขึ้นๆ

อีกทั้งในร่างกายคนเรานั้นมีจุลชีพหรือแบคทีเรียที่ดี ที่คอยกำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีให้กับเรา ทำให้ร่างกายเราแข็งแรง โดยจุลชีพเหล่านี้ก็ต้องการสารอาหารที่ดีคอยหล่อเลี้ยงให้เติบโต

หน้าที่และบทบาท

  1. ควบคุมระบบย่อยอาหารที่เราทานในแต่ละวัน

  2. เป็นเหมือนบ้านของจุลชีพที่ดีคอยกำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดี ที่เข้ามาในร่างกายผ่านทางหลอดอาหาร, หายใจ, ผิวหนัง อีกทั้งจุลชีพในลำไส้ส่งผลกระทบต่อความอยากอาหารและสภาพจิตใจ

  3. ควบคุมการหลั่งอินซูลินเพื่อช่วยในการย่อยกลูโคสที่อยู่ในกระแสเลือด

  4. ควบคุมระบบขับถ่ายเพื่อกำจัดของเสียของจากร่างกายทั้งจากอาหารที่ย่อยแล้วและกระบวนการเผาผลาญ


ประเมินร่างกายตัวเองว่าระบบนี้ทำงานได้ดีหรือไม่?

1. รู้สึกตื่นตัว มีพลังงานในการทำสิ่งต่างๆ ตลอดวัน
2. ขับถ่ายได้ปกติ ในปริมาณพอๆ กับอาหารที่ทานเข้าไป 1-2 วันก่อนหน้า
3. หิวตามเวลามื้ออาหาร ไม่รู้สึกอยากทานขนมหวานๆ ระหว่างมื้อ
4. สามารถคิด มีสมาธิ และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ง่าย
5. สัดส่วนและน้ำหนักตัวสมส่วน ไม่มีการสะสมไขมันช่องท้องสูง
6. ไม่ป่วยง่าย และฟื้นตัวได้ไว

สมองและระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เป็นส่วนที่เชื่อมโยงกับระบบการย่อยอาหารอย่างใกล้ชิด หรือเรียกว่า gut-brain axis และ gut-immune system connection ในบทที่ 6 เราจะไปเจาะลึกเรื่องอาหารการกิน และการดูแลระบบนี้กัน

3) Cardiovascular-Movement System (ระบบหัวใจ หลอดเลือด และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ)

ระบบหัวใจ หลอดเลือด และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ทำงานประสานกันในการรับส่งเลือดจากหัวใจ ซึ่งลำเลียงออกซิเจน ฮอร์โมน และสารอาหารไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างที่ต้องการ ด้วยการเผาผลาญพลังงาน สร้างกล้ามเนื้อและฟื้นฟูซ่อมแซม

หน้าที่และบทบาท

  • ลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย ผ่านทางกระแสเลือด

  • โรงพลังงานในเซลล์ (mitochondria) เผาผลาญกลูโคสและไขมัน ตามการใช้พลังงานของเราในแต่ละวัน และตามจำนวนของ mitochondria ที่เรามี

  • ทำการหมุนเวียนฮอร์โมน, เซลล์ภูมิคุ้มกัน และสารสื่อประสาทที่กระตุ้นการเผาผลาญสร้างพลังงาน

  • กำจัดของเสียจากกระบวนการเผาผลาญ

  • ควบคุมความดันเลือด

  • กระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลืองและเซลล์ภูมิคุ้มกัน

  • เสริมสร้างเครือข่ายสมอง ผ่านการเรียนรู้รูปแบบในการเคลื่อนไหว


การไม่ขยับร่างกายระหว่างวัน ร่างกายเสียหายกว่าที่คิด

  • เมื่อเราไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย เลือดจะไม่หมุนเวียนทั่วถึงและเกิดอาการเมื่อยล้า

  • เมื่อเลือดไม่ค่อยหมุนเวียน การลำเลียงสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายก็ประสิทธิภาพลดลง

  • นานวันเข้า กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงลง และยิ่งส่งผลให้จำนวนการเผาผลาญพลังงานของ mitochondria แย่ลง

  • พลังงานในการใช้ชีวิตแต่ละวันค่อยๆ น้อยลง

  • ร่างกายเริ่มเกิดการต่อต้าน insulin และระบบเผาผลาญได้แย่ลง เป็นผลจากการที่เซลล์และกล้ามเนื้อในร่างกายอ่อนแอลง จากการไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน และเกิดการสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆ ยิ่งลดประสิทธิภาพการดึงน้ำตาลในกระแสเลือดมาใช้


4) Immune-Repair System (ระบบภูมิคุ้มกันและฟื้นฟู)

ในร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มกันและซ่อมแซมที่เป็นที่สุดแห่งพลังธรรมชาติ

ในทุกๆ วันที่เรานอน ร่างกายจะทำการฟื้นฟูกลับไปเป็นสภาพที่ดีไม่ดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคุณภาพการนอน

เวลาที่มีเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรามีกลไลเพื่อกำจัดออก และเรียนรู้ที่เอาชนะในครั้งถัดๆ ไปได้เร็วขึ้น โดยขึ้นอยู่กับสุขภาพภูมิคุ้มกันของเราด้วย

หน้าที่และบทบาท

  1. ตอบสนองเพื่อกำจัดเชื้อโรคแบคทีเรียและสารพิษต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย

  2. ฟื้นฟูซ่อมแซมเมื่อร่างกายเกิดการอักเสบ บาดเจ็บ อดนอน ออกกำลังกายหนัก หรือมีความเครียด

  3. กุญแจสำคัญต่อการป้องกันชะลอความเสื่อมลงของร่างกาย ความสามารถในการฟื้นตัว และป้องกันโรคต่างๆ


ระบบภูมิคุ้มกันที่ดีเยี่ยม ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ชีวิต

ตั้งแต่การเลือกทานอาหารที่ให้สารอาหารที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กระบวนการทำงานของทุกระบบในร่างกายทำงานได้ดีอยู่เสมอ เราจะได้ลงรายละเอียดกันในบทที่ 6 ว่าด้วยเรื่องการกินอย่างมีเป้าหมาย

รูปแบบการนอนของเราในแต่ละวัน เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพระบบภูมิคุ้มกัน ในบทที่ 3 และ 4 เราจะลงลึกกันในหัวข้อศาสตร์การนอนแบบเข้าใจง่าย ว่านอนอย่างไรให้ได้คุณภาพถึงตามที่ร่างกายควรจะมี

การออกกำลังกาย และเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นสิ่งที่ขาดหายไปจากชีวิตประจำวันหลายๆ คน โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนทำงานออฟฟิตที่ต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ส่งผลระบบในร่างกายและกล้ามเนื้อ ลดประสิทธิภาพการทำงานลง

ในบทที่ 5 เราจะเปลี่ยนมุมมองต่อการเคลื่อนไหว และออกกำลังกายด้วยกันใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยมเสมอ

คอร์สนี้แตกต่างอย่างไร
การจะสร้างสุขภาพที่ดีเยี่ยมและมี Extended Healthspan ที่ยาวนานนั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจรูปแบบชีวิตและเลือกทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีความสอดคล้องและสนับสนุนการทำงานของร่างกายตั้งแต่ตอนหลับถึงระหว่างวัน

โดยเนื้อหาทั้ง 10 บทในคอร์สนี้ จะเป็นการเจาะลึกในแต่ละด้านการดูแลสุขภาพ มุ่งเน้นการปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และออกแบบรูปแบบชีวิตอย่างเป็นระบบที่สร้างสุขภาพดีเยี่ยมในทุกวัน

คนที่ร่ำรวยเงินทอง แต่ไม่มีสุขภาพและพลังงานที่ดี ต้องการเพียงสิ่งเดียว คือ สุขภาพที่ดี

คนที่มีสุขภาพที่ดี ไม่ใช่เพียงต้องการหลายอย่าง แต่สามารถทำอะไรก็ได้มากมายให้กับตัวเอง, คนที่รักและคนอื่นๆ ในโลกใบนี้

หลายคนอยากให้โลกและสังคมนี้เกิดความเปลี่ยนแปลง แต่ความฝันที่เราต้องการส่วนใหญ่ ต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนเแปลงและสร้างความพร้อมให้กับตัวเราเองก่อน

กุญแจสำคัญในการเริ่มต้นสร้างสุขภาพที่ดีตั้งแต่วันนี้

  • การปรับสร้างนิสัยที่ดีอย่างถูกจุด สามารถเปลี่ยนแปลงสุขภาพให้ดีขึ้นได้อย่างมาก

  • ร่างกายของคนเราต้องใช้เวลาในการปรับตามจังหวะการใช้ชีวิต มากกว่าการปรับช่วงสั้นๆ

  • เราต้องหาและปิดจุดรั่วในระบบร่างกายของเรา ก่อนที่จะสามารถเพิ่มระดับพลังงานได้

  • ร่างกายของคนเรา แตกต่างกันตั้งแต่ตอนเกิด การเติบโต ใช้ชีวิต ทำให้ตอบสนองต่อการดูแลที่แตกต่างกัน

  • ความสามารถในการคิด เรียนรู้ จดจ่อ เป็นส่วนนึงของสุขภาพร่างกาย


Created with