บท 5: ออกกำลังกายเพื่อสร้างร่างกายที่เราเชื่อมั่นได้
เคลื่อนไหวร่างกาย: กุญแจสู่สุขภาพดีระยะยาวที่หายไปในยุคนี้
วิวัฒนาการของร่างกายมนุษย์
ชีวภาพร่างกาย เวลาเคลื่อนไหวออกกำลังกาย
ทำความรู้จักกล้ามเนื้อ
ทำการหดตัวเพื่อดึงส่วนต่างๆ เวลาที่เราเคลื่อนไหว
เก็บสะสมกูลโคสเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานพร้อมใช้
ปกป้องกระดูก ข้อต่อและอวัยวะภายใน
สื่อสารกับสมองและระบบภูมิคุ้มกันผ่านฮอร์โมน myokines
ฮอร์โมนปุ๋ยสมอง Myokines
เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เรียนรู้ฟื้นฟูสมอง และร่างกายแข็งแรง อาทิเช่น
ลดการอักเสบในร่างกาย
เพิ่มการตอบสนองต่อ insulin ที่ช่วยในการย่อยสลายน้ำตาลและไขมันมาเป็นพลังงาน
เร่งอัตราการเกิดของ BDNF หรือ neurotrophins เปรียบเสมือนปุ๋ยของสมองคนเรา เป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการเกิดใหม่, เชื่อมโยง และป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง หรือ neuron
สร้างสมดุลให้กับเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้ดี และเพิ่มจำนวนภูมิคุ้มกันให้กับเราด้วย
โรงพลังงานในเซลล์ หรือ Mitochondria
ร่างกายไม่สามารถแปลงกลูโคส, ไขมันและกรดอะมิโนไปเป็นพลังงานได้มากพอ
ทำให้เกิดการสะสมไขมันตามร่างกาย และอาการดื้ออินซูลิน
เมื่อมีพลังงานในการออกกำลังกายและเคลื่อนไหวได้น้อย ทำให้ระบบเลือดไหวเวียนไม่ดี และร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมน myokines ที่ไปสร้างรักษาและช่วยการเชื่อมโยงเซลล์สมองให้แข็งแรง
เมื่อแต่ละวันใช้พลังงานน้อย ก็ส่งผลกับ sleep drive ทำให้นอนหลับยากขึ้น
การออกกำลังกายจะกระตุ้นการเกิดใหม่ของ mitochondria เรียกกระบวนการนี้ว่า mitochondrial biogenesis
ยิ่งมีกล้ามเนื้อมากขึ้น ก็ยิ่งมีโรงงานพลังงานมากขึ้นทั่วร่างกาย
ศาสตร์การเพิ่มกล้ามเนื้อ
ฝึกแรงต้านให้เส้นใยกล้ามเนื้อหดตัวจนเกิด stress signal ที่ทำให้เส้นใยมีการฉีกขาดระดับนึง และหลั่งสารสื่อประสาทที่บอกให้ร่างกายกระตุ้นการสร้างซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้แข็งแรงกว่าเดิม
ร่างกายใช้กรดอะมิโนเพื่อสร้างซ่อมแซมเส้นใยกล้ามเนื้อที่เสียหายขึ้นมาใหม่ เรียกกระบวนการนี้ว่า “muscle protein synthesis (MPS)” ซึ่งใช้ระยะเวลายาวถึง 24-48 ชม.
ระหว่างที่เรานอนหลับลึกร่างกายสานต่อกระบวนการซ่อมแซม และสร้างกล้ามเนื้อใหม่ให้แข็งแรงสมบูรณ์
ดังนั้นการสร้างมวลกล้ามเนื้อจากการฝึกแรงต้าน มี 3 ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ
ค่อยๆ เพิ่มแรงต้านในแต่ละครั้ง แต่ไม่มากเกินไป เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้
ทานอาหารที่เน้นโปรตีน 30-40 กรัม เพื่อเป็นวัตถุดิบในกระบวนการซ่อมแซม โดยทานช่วงก่อนฝึกแรงต้าน 2-3 ชม. หากต้องใช้เวลาย่อย หรือ หลังฝึกทันทีหากย่อยง่ายๆ เช่น ไข่ หริอโปรตีนเวย์
เตรียมตัวสำหรับการนอนหลับให้ลึก เพื่อให้ร่างกายหลัง growth hormone อย่างเพียงพอ ป้องกันไม่ให้เส้นใยกล้ามเนื้อที่กำลังสร้างซ่อมแซมสูญสลายจากกระบวนการที่ไม่สมบูรณ์
Sarcopenia ภาวะกล้ามเนื้อน้อย
ผลสำรวจเชิงสถิติใน U.S.A. ถึงการออกกำลังแบบแรงต้านพบว่า
การออกกำลังแบบแรงต้าน 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ลดอัตราของทุกสาเหตุการตาย ถึง 23-30%
ความแข็งแรงของมือและข้อมือ (Grip strength) เป็นหนึ่งในตัวคาดการณ์ของแนวโน้มสภาวะสมองเสื่อม
มวลกล้ามเนื้อที่แข็งแรงช่วยป้องกันการดื้อ insulin และความผิดปกติของระบบเผาผลาญในร่างกาย
ออกกำลังกาย 4 ประเภทในแต่ละสัปดาห์ เพื่อสร้างร่างทองคำ
1) Cardio Exercise
ออกกำลังกายให้มีการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นกว่าปกติ ต่อเนื่อง 30-60 นาทีในแต่ละครั้ง
ตัวอย่าง
การเดินไวๆ, การวิ่ง, ว่ายน้ำ, เต้น, HIIT, กีฬาที่ต้องเคลื่อนตัวตลอด
สัดส่วนการออกกำลังกาย
80% โซน 2 ระดับความเข้มข้นต่ำ ถึง ปานกลาง หรือประมาณ 150-300 นาทีต่อสัปดาห์
20% โซน 3 ระดับความเข้มข้นสูง หรือประมาณ 30-60 นาทีต่อสัปดาห์
ประโยชน์ด้านสุขภาพ
เสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดเต็มไปด้วยออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะสมอง ดีมากๆ ในช่วงที่ต้องทำงานที่ใช้สมาธิและความคิดวิเคราะห์สูง
เพิ่ม VO2 Max ปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ร่างกายสามารถใช้ได้ระหว่างการออกกำลังกาย บ่งบอกความทนทานของร่างกายต่อสภาวะที่ต้องใช้กำลังนานๆ
การออกกำลังกายที่ความเข้มข้นสูงช่วยกระตุ้นการใช้พลังงานในระดับสูง และช่วยให้ร่างกายเกิดสถานะ EPOC (Excess Post-Exercise Oxygen Consumption) ส่งผลให้ร่างเผาผลาญไขมันต่อเนื่องไปอีกระยะ
2) Resistance Exercise
ออกกำลังกายฝึกแรงต้าน โดยใช้น้ำหนักจากร่างกายเราเอง, ยางยืด, ดัมเบล, ลูกตุ้มน้ำหนัก หรือเครื่องในยิม
ตัวอย่าง
การฝึกด้วยท่า squat, push up, deadlift, sit up, การโหนบาร์, การเล่นเครื่องที่สร้างแรงต้านในยิม
สัดส่วนการออกกำลังกาย
สำหรับผู้เริ่มต้น ฝึกสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 30-60 นาที โดยฝึกท่าละ 4 เซทๆ ละ 12 ครั้ง
สำหรับผู้ฝึกมาเกิน 2 เดือน ฝึกสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
ฝึกส่วนบนและส่วนล่างร่างกาย สลับกันไปในแต่ละครั้ง
หรือเล่นทั้งส่วนบนและส่วนล่างในแต่ละครั้งเลย หากมีเวลาฝึกได้ไม่กี่วันต่อสัปดาห์
ประโยชน์ด้านสุขภาพ
สร้างมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ซึ่งช่วยเพิ่มระดับพลังงานให้ล้นเหลือ
เพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมันและกลูโคส ช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ทำให้จิตใจและอารมณ์ดี จากสาร endorphin ที่หลั่งตอนออกกำลังกาย และกล้ามเนื้อที่แข็งแรงช่วยเพิ่มความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
เสริมประสิทธิภาพระบบภายในร่างกายทั้ง เซลล์สมอง, ภูมิคุ้มกัน, นอนหลับง่ายและลึกขึ้น
ช่วยยืดความยาวของเทโลเมียร์ ที่อยู่ปลายโครโมโซม ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายฟื้นฟู และรักษาตัวเองได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพของเซลล์ เช่น โรคมะเร็งและโรคอัลไซเมอร์
เพิ่มความหนาแน่ของกระดูก ลดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน และป้องกันการแตกหักของกระดูกในระยะยาว
3) Flexibility Exercise
ฝึกเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ
ตัวอย่าง
โยคะ, ไทชิ, foam rolling, ท่ายืดคลายกล้ามเนื้อ
สัดส่วนการออกกำลังกาย
3-7 วันต่อสัปดาห์ในแบบที่ไม่หนักเกินไป
ประโยชน์ด้านสุขภาพ
ช่วยให้เราเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องตัว และทรงตัวได้ดี
ลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ช่วยให้การไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อ และข้อต่อดีขึ้น ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย
รู้สึกสงบผ่อนคลายและลดความเครียด
4) Balance Exercise
ฝึกความสมดุลทรงตัวของร่างกาย
ตัวอย่าง
การยืนขาข้างเดียว, การเดินเรียงเส้นตรง, การฝึกยกเข่า
สัดส่วนการออกกำลังกาย
2-3 วันต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ต้องนั่งนานๆ หรือคนที่กล้ามเนื้อลดน้อยลงจากการไม่ได้ใช้งาน
ยืนขาเดียวให้ได้อย่างน้อย 30 วินาที
ประโยชน์ด้านสุขภาพ
เสริมความสามารถในการทรงตัว มีก้าวเดินที่มั่นคง
ลดความเสี่ยงในการหกล้ม
เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา แกนกลางลำตัว และกล้ามเนื้อข้อต่อ
สรุปท้ายบท
แหล่งอ้างอิงศึกษาต่อยอด เพิ่มเติม
หนังสือ
Forever Strong - Dr. Gabrielle Lyon
Longevity By Design - นายแพทย์นรินทร สุรสินธน
The Telomere Effect - Elizabeth Blackburn and Elissa Epel
คอร์สเรียน
Mindvalley - 10X by Ronan Diego de Oliveira